วันเสาร์, เมษายน 23, 2559

🔸 “การวิเคราะห์หลังการดำเนินงาน”


เครื่องมือ “การวิเคราะห์หลังการดำเนินงาน” : Retrospect






        การวิเคราะห์หลังการดำเนินงาน คือ เป็นการรวบรวมความรู้ในระยะยาวสำหรับทีมงาน โดยดำเนินการในช่วงเวลาที่เสร็จสิ้นโครงการแล้ว เป็นการประชุมทีมงานเพื่อมองอนาคต บทเรียนที่จะนำไปใช้ในโครงการต่อไป มิใช่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการเดิม ส่วนการถอดบทเรียนนั้นเน้นให้ผู้ร่วมกระบวนการสกัดบทเรียนการทำงานโครงการทั้งระบบตั้งแต่ช่วงเตรียมการ ช่วงดำเนินการ และผลลัพธ์ ผลผลิตที่ได้จากโครงการ เป็นกระบวนการที่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน ปกติใช้เวลา 1-2 วันขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของโครงการ 

ขั้นตอนที่สำคัญของ Retrospect

        v กิจกรรมอุ่นเครื่อง

        v กระบวนการถอดบทเรียน


v กิจกรรมอุ่นเครื่อง


        1. เตรียมพร้อมความทรงจำและข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและผลการดำเนินโครงการ 
        วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ร่วมกระบวนการได้ทบทวนที่มาที่ไปของโครงการ กระบวนการดำเนินงาน และผลสำเร็จของโครงการร่วมกันก่อน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์เหตุปัจจัยต่างๆ ในกิจกรรมขั้นต่อไป
              - เป็นการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วม “ย้อนอดีต”
              - อาจดำเนินการล่วงหน้าก่อนวันที่จะจัดเวทีถอดบทเรียน2-3 วันได้

         ประเด็นสำหรับใช้ในกิจกรรมอุ่นเครื่อง
              - ทบทวนวัตถุประสงค์ของโครงการและผลงานที่ต้องส่งมอบโครงการ 
              - ทบทวนแผนงานและกระบวนการดำเนินโครงการ 
        2. เตรียมความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการถอดบทเรียน
        วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ร่วมกระบวนการได้เข้าใจเกี่ยวกับหลักการ เป้าหมาย และ กระบวนการ           ถอดบทเรียนที่จะทำร่วมกัน
              - เป็นสิ่งสำคัญต่อบรรยากาศและคุณภาพของกระบวนการถอดบทเรียน 
              - ควรย้ำถึงหัวใจของการถอดบทเรียนจนเป็นคุณค่าร่วมที่ทุกคนยึดถือตรงกัน

v กระบวนการถอดบทเรียน



        - กระบวนการระดมความคิดจากกลุ่ม


BACK             หน้าหลัก




🔸 การเรียนรู้หลังงานสำเร็จ [ KM : Restrospect ]

เครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ : Retrospect 


        เป็นวิธีการหรือเทคนิคที่ใช้กันมากในการแลกเปลี่ยนหรือสกัดความรู้ที่ฝังลึกในตัวคนเป็นความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติการปล่อยความรู้จากการปฏิบัติถ้าฝึกจนชํานาญการเล่าเรื่องจะปลดปล่อยความรู้ออกมาอย่างทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อเป็นกิจกรรมที่ทีมทำงานสำเร็จไปแล้วระยะหนึ่งก็นัดเจอกันเพื่อทบทวนย้อนหลังงานนั้นๆ เช่น ทบทวนการดูแลผู้ป่วย การสัมมนาผู้ป่วย เป็นต้น 



โดยสรุปวิธีวิทยาการเรียนรู้หลังดำเนินการมีลักษณะ ดังนี้


  
โดยสรุปวิธีวิทยาการเรียนรู้หลังดำเนินการมีลักษณะ ดังนี้
       1.      ทำอะไร ?
-          การรวบรวมความรู้ในระยะยาวสำหรับคณะทำงานหรือชุมชน
-          ดำเนินงานในช่วงเวลาที่จบโครงการ
          เป็นการประชุมคณะทำงานเพื่อมองอนาคต
       2.      ใคร ?
-       คณะทำงาน
-       ผู้อำนวยความสะดวกผู้ที่ใช้ความรู้ในอนาคต
       3.      เมื่อไหร่ ?
-       ทันทีที่เสร็จสิ้นโครงการ “เมื่อจบสงคราม มิใช่ เมื่อสิ้นสุดการโจมตีในแต่ละครั้ง”
       4.      ทำทำไม ?
-            ปรัชญาของการทำงานที่ว่า “ทุกครั้งเราทำอะไรซ้ำ เราควรทำให้ดีกว่าครั้งสุดท้าย”
-            ช่วยผู้อื่นให้ทำงานของเขาให้ดีขึ้นสร้างความตระหนักในการเรียนรู้
       5.      ทำอย่างไร ?
-            คล้ายกับ AAR : After Action Review
      แต่ลงลึก (In Depth) กว่า
-            เป็นการทบทวนแผนกระบวนการทั้งหมด
-            ตั้งคำถามว่าเราจะดำเนินต่อไปให้ดีขึ้น อย่างไร ด้วยวิธีใด ทำให้เป็นที่พอใจได้อย่างไร
-            บันทึกข้อเสนอที่เจาะจงนำไปปฏิบัติได้ (Specific Actionable  Recommendations – SARS)




BACK             NEXT


วันพฤหัสบดี, เมษายน 21, 2559

🔸 [ KM TOOL : RESTROSPECT ]

เครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การเรียนรู้ร่วมกันหลังงานสำเร็จ [ Retrospect ]